สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต (CHANG INTERNATIONAL CIRCUIT)
ข้อมูลสถานที่ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิตวิกิพีเดีย
สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ได้รับการรับรองจาก FIA ให้ใช้เป็นสนามจัดการแข่งขันรถยนต์ ฟอร์มูล่า 1 หรือรถสูตร 1 ได้ ในขณะเดียวกัน ก็ได้รับการรับรองจาก FIM ให้ใช้เป็นสนามจัดการแข่งขันรถจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลก รายการ MOTO GP ได้อีกด้วย ซึ่งนับเป็นการแข่งขันระดับสูงสุดของทั้ง 2 สหพันธ์สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 1,200 ไร่ มีระยะทางต่อรอบ 4.554 กิโลเมตร ทิศทางการวิ่งแบบตามเข็มนาฬิกา ประกอบด้วยจานวนโค้งทั้งสิ้น 12 โค้ง เป็นโค้งขวา 7 โค้ง และโค้งซ้าย 5 โค้ง สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จุผู้ชมได้สูงสุดถึง 50,000 คน จุดเด่นของสนาม คือ การที่ผู้ชมสามารถมองเห็นทุกส่วนของแทร็ค เมื่ออยู่บนแกรนด์สแตนด์ เพื่อเพิ่มอรรถรสของการชมเกมมอเตอร์สปอร์ต โดยไฮไลต์ของแทร็คมีอยู่ 5 จุด คือ ทางตรงยาวระยะทาง 1 กิโลเมตร สามารถทำความเร็วได้ในรถระดับทัวริ่งคาร์ถึง 315 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สาหรับรถมอเตอร์ไซค์ ซูเปอร์ไบค์ โดยจุดนี้ ถือเป็นจุดที่ท้าทายนักขับในการหาจุดเบรกในการแซง
ถัดมา คือโค้ง 4 เป็นโค้งซ้ายความเร็วสูง ที่นักขับสามารถเข้าโค้ง ด้วยความเร็วระดับ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะเดียวกัน ก็จะต้องต่อสู้กับแรงเหวี่ยงอันมหาศาลในโค้งนี้ ตามด้วยโค้ง 7 เป็นโค้งหักขวา 70 องศา ที่ฝังอยู่ด้วยโค้งเล็กๆอีก 2 โค้งในจุดนี้ และถือเป็นอีกหนึ่งโค้งความเร็วสูงของสนาม ซึ่งรถระดับทัวริ่งคาร์ และมอเตอร์ไซค์ซูเปอร์ไบค์ สามารถรักษาความเร็วได้ในระดับ 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในช่วงออกจากโค้ง 7 นี้ รวมไปถึงโค้ง 9 และ 10 ที่มีความต่อเนื่องกัน โดยนักขับต้องใช้ไหวพริบอย่างมากในการขับจุดนี้ เพื่อต่อเนื่องไปยังโค้ง 12 โค้งแฮร์พิน หรือโค้งยูเทิร์นหักศอกขวา 126 องศา ถือเป็นจุดไฮไลต์ของสนาม สาหรับการแซง โดยนักแข่งสามารถเลือกเรซซิ่งไลน์ของตัวเองได้ตามความเหมาะสม ก่อนจะหาจังหวะแซง
นอกจากนี้ยังมีพิตระดับมาตรฐานถึง 40 พิต รองรับความต้องการด้านการทางานของทีมแข่งทุกระดับ โดยบริเวณด้านบนพิตถูกสร้างเป็นแพ็ดด็อก สาหรับกลุ่มผู้ชมระดับวีไอพี รวมไปถึงชั้นบนสุดที่ถูกสร้างเป็นสแตนด์อีกชั้น เพื่อให้แฟนมอเตอร์สปอร์ตได้สัมผัสการทางานของทีมแข่งอย่างใกล้ชิด
สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต เปิดตัวสู่สายตาชาวโลก ด้วยการจัดการแข่งขัน Super GT สุดยอดการแข่งขันรถซูเปอร์คาร์ อันดับ 1 ของเอเชีย ที่มีความสนุกสนาน ตื่นเต้น และเร้าใจตลอดการแข่งขัน และสร้างสถิติผู้ชมการแข่งขันสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดกันมา คือ 130,000 คน เมื่อเดือนตุลาคม 2557
หลังจากนั้นก็ได้รับเลือกให้เป็นสนามแข่งขันรายการที่เป็นสุดยอดของโลกอีกหลายรายการ เช่น การแข่งขันรถจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลก ประเภทรถโปรดักชั่นรายการ WorldSBK รายการ Asia Road Racing การแข่งขันรถยนต์ รายการ World Touring Car การแข่งขันรถยนต์รายการ TCR International และ TCR Asia การแข่งขันรถยนต์ รายการ GT Asia รายการ Asian Le Mans ปี 2561 จะเป็นปีที่สาคัญของสนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ในฐานะสนามแข่งขันรถจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลก รายการ MOTO GP ซึ่งเป็นสุดยอดการแข่งขันอันดับ 1 ของโลก ที่จะถูกถ่ายทอดสดไปมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจะเป็นปีที่สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จะได้แสดงศักยภาพของคนไทย ให้แฟนมอเตอร์สปอร์ตทั่วโลกได้เห็นว่า ประเทศไทย พร้อมแล้วที่จะเป็นศูนย์กลางมอเตอร์สปอร์ตของเอเชีย และพร้อมแล้วที่จะเป็น Destination of Speed ของนักแข่งทั่วโลกอย่างแท้จริง
ลักษณะเด่น
สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ ประเทศไทยถูกบรรจุเป็นสนามแข่ง MOTO GP 2018 สนามที่ 15 แข่งที่ระหว่างวันที่ 5-7 ตุลาคม 2561
ประวัติ
สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นสนามแข่งรถแห่งแรก และแห่งเดียวของประเทศไทย ที่ถูกสร้างขึ้นมาตามมาตรฐานของสหพันธ์รถยนต์ระหว่างประเทศ หรือ Fédération Internationale de l'Automobile (FIA) และสหพันธ์รถจักรยานยนต์ระหว่างประเทศ หรือ Fédération Internationale de Motocyclisme (International Motorcycling Federation) ตามวัตถุประสงค์ของคุณเนวิน ชิดชอบ ประธานบริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จากัด ที่ได้ต้องการให้ประเทศไทย มีสนามแข่งรถที่มีมาตรฐานสูงสุดของโลก เพื่อให้สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต เป็นสนามที่ได้จัดการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ตระดับโลก ของเมืองไทย และเป็นสนามที่จะใช้พัฒนาศักยภาพนักแข่งไทย ให้ก้าวไปสู่การเป็นนักแข่งระดับโลก